วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

นวัตกรรม
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ(Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา หรือ การปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ  นวัตกรรมมีหลายประเภท เช่น นวัตกรรมทางด้านการเกษตรก็เรียกว่า นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางด้านการแพทย์ ก็เรียกว่านวัตกรรมการแพทย์ หรือนวัตกรรมทางด้านสือการเรียนการสอน ก็เรียกว่า นวัตกรรมทางการศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีประโยชน์มากทั้งในด้านทางการเกษตร ทางด้านการแพทย์ ด้านสือการเรียนการสอน
 ดังนั้น นวัตกรรมจึงถือได้ว่ามีความสำคัญมากในการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบัน และปัจจุบันก็มีแต่คนใช้มากกว่าคนคิดจึงทำให้ไทยมีการก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีช้ากว่าหลายๆประเทศ
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. เน้นด้านการเรียนรู้
2. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
3.พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
   จากความความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันจึงทำให้มีเทคโนโลยีที่ทันเกิดขึ้นเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบัน  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี และย้ฃังรใฃวมไปถึงในด้านอุตสาหกรรม ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านต่าง เช่น การผลิตที่มากขึ้น
บทสรุป
             เมื่อเทคโนโลยีการศึกษาเข้าสู่ยุคอีหมายความว่า จะเลิก ละทิ้ง หรือลดความสำคัญของยุคไอลงไปหรือไม่ ในทางตรงกันข้ามหลักการและทฤษฎีที่ดำเนินมาอย่างเข้มแข็งในยุคไอ เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาใช้เป็นหลักการและทฤษฎีพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยีการศึกษายุคอี เพราะยุคอีเป็นเพียงแนวคิดและเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ ที่ต่อไปก็จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปอีกอย่างไม่หยุดนิ่งยึดถือเป็นสรณะทุ่มเทหรือมุ่งให้เป็นสื่อนำยังไม่อาจสรุปได้ เหมือน ๆ กับสื่อจำนวนมากในอดีตที่เข้ามาแล้วก็ผ่านพ้นไป จนบัดนี้
ข้อมูล-สารสนเทศ หมายถึงอะไร
 ข้อมูล (Data) หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่  โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะ
ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญาลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ
ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน
  เพศ  อายุ เป็นต้น          
แหล่งสารสนเทศ (Information Sources)
1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน
2. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่  
3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล
4. แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ 
5. ศูนย์บริการสารสนเทศแบบซีดีรอม และแบบออนไลน์
6. อินเทอร์เน็ต
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
   นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น